ARTICLES ON BUDDHISM

ข้อควรรู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม

คัดลอกและตัดตอนมาจาก หนังสือคู่มือฟังสวดพระอภิธรรม

โดย แผนกพัฒนาจิต มูลนิธิว่องวานิช

คัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนาเรียกว่า พระไตรปิฎก มีอยู่ ๓ ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก, พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พระอภิธรรมเป็นคัมภีร์สำคัญที่สุด ลึกซึ้งที่สุด เข้าใจยากที่สุด และมีเนื้อหามากที่สุด โดยนับเป็นหัวข้อได้ถึง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ในขณะที่พระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก มีปิฎกละ ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่านั้น

ประเพณีการสวดพระอภิธรรม

เนื่องด้วยในสมัยโบราณไม่นิยมใช้หนังสือบันทึกคำสอนหรือพระพุทธวจนะ แต่ใช้วิธีท่องจำต่อ ๆกันมา และพระพุทธวจนะหรือคำสอนนั้นก็เป็นสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือจะเรียกว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนาก็ว่าได้ จึงเกิดความจำเป็นขึ้นว่า เมื่อจะรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ นอกจากจะท่องจำคำสอนเป็นกิจวัตร และทำความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆแล้ว ก็ยังจำเป็นต้องมีการสวดสาธยายธรรมกันเป็นประเพณีด้วย และการสาธยายธรรมนั้น ก็มีข้อน่าสังเกตดัวนี้

  • ๑.    เกี่ยวกับพระวินัยปิฎกนั้น ได้มีพระบัญญัติให้ท่องจำและทบทวนกันทุกกึ่งเดือน ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็คือ การลงอุโบสถฟังสวดพระปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์นั่นเอง (ต้องทำทุกวันขึ้น ๑๕ค่ำและ แรม ๑๕ค่ำ)
  • ๒.    ส่วนพระสุตตันตปิฎกนั้น ก็เกิดประเพณีที่อนุรักษ์ไว้ ๒ วิธีคือ
    • ๒.๑    การสวดพระธรรมเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา โดยถือว่าการสวดเป็นปริยัติศาสนา (การศึกษาเล่าเรียน)อย่างหนึ่ง เรียกว่าสาธยายธรรมได้แก่ประเพณีสวดมนต์ทำวัตรเช้า สวดมนต์ทำวัตรเย็นทุกวันมิได้ขาด จึงเกิดมีหอสวดมนต์ ประจำวัดสืบมาจวบจนปัจจบัน
    • ๒.๒   การสวดพระปริตร เพื่อคุ้มครองป้องกันภัยอัตรายทั้งหลาย ซึ่งถือเป็นประเพณีในการทำบุญ หรือบำเพ็ญกุศลต่างๆ เช่นงานฉลองหรืองานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ได้นิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นศิริมงคล บทสวดในงานดังกล่าวนี้ ก็นำข้อความสำคัญจากพระสุตตันตปิฎกนั่นเองมาเป็นแม่บท
  • ๓.    สำหรับพระอภิธรรมปิฎกนั้น จะนำมาสวดเฉพาะในงานบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานศพ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้วายชนม์ แต่เนื้อหาที่แท้จริงล้วนเป็นคำสอนที่มุ่งสอนคนเป็น ไม่ใช่สวดให้คนตายฟัง และการสวดพระอภิธรรมนี้แบ่งเป็น ๒ ตอนคือ
    • ๓.๑   ในวันตั้งศพวันแรก และวันทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และในเวลาก่อนประชุมเพลิง นิยมนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรมเรียกว่าสวดมาติกาบังสุกุล ถ้าเป็นงานพระศพเจ้านายเรียกว่าพิธีสดัปกรณ์ซึ่งหดเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า “สัตตปกรณ์” คือพระอภิธรรม ๗คัมภีร์ โดยออกเสียงเป็นรูปสันสกฤตว่า “สัปตปกรณ์” หรือ “สัปตัปประกรณ์”แล้วออกเสียงเพี้ยนเป็น “สตับปกรณ์”ดังกล่าวแล้ว
    • ๓.๒   ในตอนกลางคืนมีประเพณีสวดสังคหะเป็นทำนองสรภัญญะ(คือการสวดโดยใช้เสียงบริสุทธ์ เป็นจังหวะ สั้น-ยาว) โดยนำสวดเป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธมาจากคัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ ซึ่งเป็นคำภีร์ที่พระอนุรุทธเถระแต่งขึ้น โดยวิธีเก็บสาระสำคัญจากพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดมาจัดเป็นหมวดหมู่ใหม่เป็น ๙ ปริจเฉท หรือ ๙ บท และสาระสำคัญใน ๙ปริจเฉทนั้นก็เป็นเรื่องของการอธิบายปริมัตถธรรม หรือพุทธอภิปรัชญา ซึ่งโดยสรุปแล้วก็มีเนื้อหาเป็นหลักสำคัยเพียง ๔หัวข้อ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งท่านย่อให้จำง่าย ๆว่า จิ. เจ. รุ. นิ. เนื้อหาสาระสำคัญของพระอภิธัมมัตถสังคหะ ทั้ง ๙ ปริเฉท อธิบายโดยสรุปได้ดังนี้

คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะมี ๙ ปริเฉทคือ

ปริเฉทที่ ๑ ชื่อว่า จิตตสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่องของจิต

ปริเฉทที่ ๒ ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่องของเจตสิก

ปริเฉทที่ ๓ ชื่อว่า ปกิณณกสัวคหวิภาคแจกแจงแสดงเรื่อง ธรรมะ

  คือเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ

ปริเฉทที่ ๔ ชื่อว่า วิถีสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่อง วิถีจิต

ปริเฉทที่ ๕. ชื่อว่าวิถีมุตตสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่อง จิตที่ พ้น

  วิถีและธรรมะที่เกี่ยวเนื่องกับจิตเหล่านั้น

ปริเฉทที่ ๖. ชื่อว่ารูปสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่อง รูปและนิพพาน

ปริเฉทที่ ๗. ชื่อว่าสมุจจยสังคหวิภาค แจกแจงเรื่อง ธรรมะที่

  สงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกัน

ปริเฉทที่ ๘. ชื่อว่า ปัจจยสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่องธรรมที่อุป

  การะซึ่งกันและกัน และแสดงบัญญัติธรรมด้วย

ปริเฉทที่ ๙. ชื่อว่า กัมมัฏฐานสังคหวิภาค แจกแจงแสดงเรื่อง กัมมัฏ

  ฐาน ทั้ง สมถะ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 

คำแปลพระอภิธรรม ธมฺมสงฺ คณี

กุสลา ธฺมมา.

ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล, คือ ไม่มีโทษ อันบัณฑิตติเตียน, มีสุขเป็นวิบากต่อไป

อกุสลา ธฺมา.

ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล, คือ มีโทษอันบัณฑิตติเตียน, มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

อพฺยากตา ธมฺมา

ธรรมทั้งหลายเป็นอัพยากฤต, คือท่านไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศลหรือ อกุศล คือเป็นธรรมกลาง ๆ

กตเม ธมฺมา กุสลา.

ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน?

ยสฺมึ สมเย.

ในสมัยใด?

กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ.

จิตเป็นกุศลอันหยั่งลงสู่กามย่อมเกิดขึ้น.

โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ.

เป็นไปกับโสมนัส ประกอบพร้อมด้วยญาณ.

รูปารมฺมณํ วา.

ปรารภอารมณ์ คือรูป, หรือมีรูปเป็นอารมณ์บ้าง.

สทฺทารมฺมณํ วา.

ปรารภอารมณ์ คือเสียง,หรือมีเสียงเป็นอารมณ์บ้าง.

คนฺธารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือกลิ่น, หรือมีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง.

รสารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือรส, หรือมีรสเป็นอารมณ์บ้าง.

โผฏฐพฺพารมฺมณํ วา.

ปรารภอารมณ์ คือ โผฏฐัพพะ สิ่งที่กายถูกต้อง,หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง

ธมฺมารมฺมณํ วา

ปรารภอารมณ์ คือ ธรรม, เรื่องที่เกิดแก่ใจ,หรือมีธรรมเป็นอารมณ์บ้าง

ยํ ยํ วา ปนารพฺภ.

ปรารภอารมณ์ใด ๆบ้างก็ดี.

ตสฺมึ สมเย.

ในสมัยนั้น

ผสฺโส โหติ.

ความประจวบต้องกันแห่งอายตนะภายนอก,และวิญญาณ ยอมมี ฯลฯ

อวิกฺเขโป โหติ.

ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี.

เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อรูปิโน ธมฺมา.

ก็หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่มีรูป, ที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้เหล่าอื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น

อิเม ธมฺมา กุสลา.

ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล