ARTICLES ON BUDDHISM

ชราสูตรแปล

อปฺปํ วต ชีวิตํ อิทํ โอรํ วสฺสสตาปิ มิยฺยติ สเจปิ อติจฺจ ชีรติ อถ โข โส ชรสาปิ มิยฺยติ

ชีวิตนี้น้อยหนักหนาจะตายภายในแค่ร้อยปีเป็นแท้แม้ถ้าว่าเขาเป็นอยู่ได้เกินกว่านั้นเขาย่อมตาย แม้เพราะชราโดยแท้แล

โสจนฺติ ชนา มมายิเต น หิ สนฺติ นิจฺจา ปริคฺคหา วินาภาวสนฺตเมวิทํ อิติ ทิสฺวา นาคารมาวเส

หมู่ชนย่อมเศร้าโศก เพราะยึดถือว่าของเราก็เพราะตามยึดถือทั้งหลายจะเป็นความเที่ยงแท้ย่อมไม่มี เพราะความเป็นต่าง ๆ ที่มีอยู่แน่แท้บัณฑิตเห็นดังนี้แล้ว จึงไม่อยู่ครองเรือน

มรเณนปิ ตํ ปหิยฺยติ ยํ ปุริโส มม ยิทนฺติ มญฺญติ เอตมฺปิ วิทิตฺวา ปัณฑิโต นมมตฺตาย นเมถ นามโก

บุรุษสำคัญอยู่ซึ่งสิ่งใดว่า นี้เป็นของเราสิ่งนั้นเขาต้องละไป เพราะมรณะเป็นแท้บัณฑิตผู้มีความนับถือ ทราบอาทีนพโทษถึงเพียงนี้แล้ว ไม่พึงน้อมใจเพื่อจะยึดถือว่าเป็นของเรา

สุปิเณน ยถา สํคตํ ปฏิพุทฺโธ ปุริโส น ปสฺสติ เอวมฺปิ ปิยาติตํ ชนํ เปตํ กาลกตํ น ปสฺสติ

บุรุษตื่นนอนแล้วย่อมไม่เห็นอะไร ๆ อันได้ประสบแล้ว เพราะความฝัน แม้ฉันใด แม้บุคคลก็จะไม่เห็นชนอันตนเคยรักใคร่ที่ทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น

ทิฏฺฐาปิ สุตาปิ เต ชนา เยสํ นามปิทํ ปวุจฺจติ นามเวม สิสฺสติ อกฺเขยฺยํ เปตสฺส ชนฺตุโน

หมู่ชนที่เรียกได้ว่า ชื่อนี้ เมื่อเขาล่วงไปแล้วชื่อเท่านั้นจะปรากฏเหลืออยู่ชนผู้เกาะเกี่ยวในอารมณ์อันถือว่าของเราละไม่ได้

โสกปริเทวมจฺเฉรํ น ชนฺติ คิทฺธา มมายิเต ตสฺมา มุนโน ปริคฺคหํ หิตฺวา อจรึสุ เขมทสฺสิโน

ซึ่งความโศกความคร่ำครวญและความหวงแหนเพราะฉะนั้น พระมุนีผู้เห็นที่อันนเกษมจึงได้ละความยึดถือเที่ยวไปแล้ว

ปฏิลีนจรสฺส ภิกฺขุโน ภชมานสฺส วิวิตฺตมานสํ มามคฺคิยมาหุตสฺสตํ โย อตฺตานํ ภาวเนน ทสฺสเส

เมื่อภิกษุมีความประพฤติหลีกเล้นบริโภคเสนาสนะอันสงัดอยู่ปราชญ์กล่าวการปฎิบัติของท่านผู้ไม่แสดงตนในภพนั้นว่า เป็นความพร้อมเพรียงแล้ว

สพฺพตฺถ มุนิ อนิสสิโต น ปิยํ กุพฺพติ โนปิ อปฺปิยํ สตฺมึ ปริเทวมจฺฉรํ ปณฺเณ วาริ ยถา น ลิปฺปติ

พระมุนีผู้ไม่อาศัยอะไรทั้งสิ้นแล้วย่อมไม่ทำใคร ๆและอะไร ๆ ให้เป็นที่รักหรือให้เป็นที่ไม่น่ารัก ความคร่ำครวญและความหวงแหน ก็ไม่ซึมซาบในท่านได้ เหมือนนน้ำบนใบบัวฉะนั้น

อุทพินฺทุ ยถาปิ โปกฺขเร ปทุเม วาริ ยถา น ลิปฺปติ เอวํ มุนิโน ปลิปฺปติ ยทิทํ ทิฏฺฐํ สุตํ มุเตสุ วา

เปรียบเหมือนหยาดน้ำในใบบัวและในดอกบัวย่อมไม่ซึมซาบฉันใดพระมุนีย่อมมไม่ติดข้องอยู่ในอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ลิ้มรสแล้วฉันนั้น

โธโน น หิเต น มญฺญติ ยทิทํ ทิฏฺฐํ สุตํ มุเตสุ วา นาญฺเญน วิสุทฺธิมิจฺฉติ น หิ โส รชฺชติ โน วิรชฺชติ

ท่านผู้มีปัญญากำจัดกิเลสได้ ย่อมไม่สำคัญตามอารมณ์ ที่ได้เห็น ได้ฟังได้ดมและลิ้มรสนั้นเลย ท่านไม่ปรารถนาความบริสุทธิ์ ด้วยมิจฉาปฏิบัติอย่างอื่นทั้งไม่ยินดียินร้าย

เอตฺตกานมฺปิ ฐานานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ

ปราชญ์รู้เนื้อความแห่งพระบาลีแม้เหล่านี้ดีแล้ว พึงปฏิบัติโดยทางที่ชีวิตจักไม่เปล่าจากประโยชน์ ดังนี้แล .

  •  

ศราทธพรตคาถาแปล

สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ชรํปิ ปตฺวา มรณํ เอวํ ธมฺมา หิ ปาณิโน

สัตว์ทั้งหลายจักตายด้วยกันทั้งสิ้น เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด แม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา

ทหรา จ มหนฺตา จ เยพาลา เย จ ปณฺฑิตา สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ ปจฺจุปรายนา

ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คนเขลาและฉลาด ย่อมไปสู่ความตายทั้งสิ้น มีความตายอยู่เบื้องหน้าหมดทุกคน

ยถาปิ อญฺยตรํ พีชํ เขตฺเต วุตฺตํ วิรูหติ ปฐวีรสยฺจ อาคมฺม สิเนหยฺจ ตทูภยํ

เหมือนพืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่หว่านลงในนา เพราะรสแห่งแผ่นดิน และยางในพืชทั้งสองประการนั้น

เอวํ ขนฺธา จ ธาตุโย ฉ จ อายตนานิเม เหตํ ปฏิจฺจ สมฺภูตา เหตุภงฺคา นิรุชฺฌเร

ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหล่านี้อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นอย่างนี้เมื่อเหตุสลายก็ย่อมดับไป

ยถา หิ องฺคสมฺภารา โหติ สมฺโท รโถ อิติ เอวํ ขนฺเธสุ สนฺเตสุโหติ สตฺโตติ สมฺมติ

เหมือนอย่างว่า เพราะรวมเครื่องสัมภาระที่เป็นเครื่องประกอบของรถ จึงมีเสียงเรียกว่ารถ ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ ก็เรียกว่าสัตว์ฉันนั้น

อายุ อุสฺมา จ วิญฺญาณํ ยทา กายํ ชหนฺติมํ อปวิทฺโธ ตทา เสติ เอตฺถ สาโร น วิชฺชติ

เมื่อใดอายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้เสียแล้ว เมื่อนั้นกายนั้นย่อมนอนทอด สาระในกายนี้ย่อมไม่มี

ยถา ยถา นิชฺฌายติ โยนิโส อุปปริกฺขติ ริตฺตกํ ตุจฺฉกํ โหติ โย นํ ปสฺสติ โยนิโส

ผู้มีปัญญาเพ่งพิจารณาโดยแยบคายด้วยประการใด ก็เป็นของว่างเปล่าปรากฏแก่ผู้เห็นโดยแยบคายฉะนั้น

ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺยตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ

อันที่จริง ทุกข์เหล่านั้นเกิดขึ้นเอง ตั้งอยู่และดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

เอตฺตกานมฺปิ ปาฐนํ อตฺถํ ญตฺวา ยถากฺกมํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อปฺปมาเทน สพฺพทาติ

ปราชญ์รู้เนื้อความแห่งพระบาลีแม้มีประมาณเพียงนี้โดยลำดับแล้ว พึงปฏิบัติด้วยความไม่ประมาท เทอญ.

  •  

ปพฺพโตปมคาถา แปล

ยถาปิ เสลา วิปุลา นภํ อาหจฺจ ปพฺพตา สมนฺตา อนุปเยยฺยํ นิปฺโปเถนฺตา จตุทฺทิสา

ภูเขาทั้งหลายล้วนด้วยศิลาแท่งทึบ สูงจดขอบฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ทิศ แม้ฉันใด

เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน ขตฺติเย พราหฺมเณ เวสฺเสสุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส

ความแก่และความตายย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และจัณฑาล ฉันนั้น

น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ สพฺพเมวาภิมทฺติ น ตตฺถ หตฺถีนํ ภูมิ น รถานํ น ปตฺติยา

ความแก่และความตายไม่เว้นใคร ๆเลย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งปวงเหมือนกันหมด ภูมิแห่งช้างทั้งหลายย่อมไม่มีในชราและมรณะนั้น ภูมิแห่งรถทั้งหลายก็ไม่มี ภูมิแห่งคนเดินเท้าก็ไม่มี

น จาปิ มนฺตยุทฺเธน สกฺกา เชตํ ธเนน วา ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺสํ อตฺถมตฺตโน

อนึ่ง ใคร ๆ ไม่อาจจะชนะชราและมรณะนั้นด้วยเวทมนต์คาถา ด้วยการสู้รบ หรือด้วยทรัพย์เพราะเหตุนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญาเมื่อเห็นประโยชน์ตน (ไม่ควรประมาท)

พุทฺเธ ธมฺเม จ สงฺเฆ จ ธีโร สทฺทํ นิเวสเย โย ธมฺมจารี กาเยน วาจาย อุท เจตสา อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีติ

ผู้มีปัญญา ควรทำความเชื่อให้หยั่งลงมั่นในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม และในพระสงฆ์ ผู้ใดประพฤติธรรมด้วยกาย วาจา ใจ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้น ในโลกนี้ครั้นละไปแล้ว ย่อมปราโมทย์ บันเทิงในสรวงสวรรค์ ดังนี้แล

เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส

ความแก่และความตายย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร และจัณฑาล ฉันนั้น

ทหรา จ มหนฺตา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺพ มจฺจุปรายนา

ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ คนเขลาและคนฉลาดล้วนอยู่ในอำนาจแห่งความตาย มีความตายเป็นเบื้องหน้า

อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ อายุ ขียติ มจฺจานํ กุนฺนทีนมโวทกํ

วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมรุกร้นเข้าไป อายุของสัตว์ย่อมหมดไป เหมือนน้ำในลำธารย่อมเหือดแห้งไปฉันนั้น

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา

ความเพียรเผากิเลสควรทำในวันนี้ ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ ความผัดเพี้ยนด้วยพญามัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ

ห้วงน้ำที่เต็มฝัง ย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด ทานที่อุทิศให้แล้วแต่ ลกนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ญาติผู้ละไปแล้ว ฉันนั้น

ตสฺมา กเรยฺย กลฺยาณํ นิจฺจยํ สมฺปรายิกํ ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา ปาณินํ

เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงบำเพ็ญความดีที่เป็นกัลยาธรรม สั่งสมให้เป็นกำลังในเบื้องหน้า เพราะบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายถึงในโลกอื่น ดังนี้แล.

  •  

โมกฺขุปายคาถา แปล

สพฺพวตฺถุตฺตมํ นตฺวา พุทฺธธมฺมคณตฺตยํ เชคุจฺฉกายมจฺจานํ โมกฺขุปายํ วทามิหํ

ข้าพเจ้าขอนมัสการ ๓รัตนะ คือ พระพุทธ พระธรรมและหมู่พระสงฆ์ เป็นวัตถุอันอุดมกว่าสิ่งทั้งปวงแล้วจะบอกอุบายเป็นเครื่องพันแก่หมู่ชนผู้มีร่างกายอันหน้าเบื่อหน่าย

ปาฏิโมกฺขํ ปูเรตพฺพํ อโถ อินฺทฺริยสํวโร อาชีวสฺส สุทฺธิ อโถ ปจฺจยนิสฺสิตํ

พระปาฏิโมกข์ การสำรวมอิทรีย์ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ และปัจจัยสันนิสสิตศีล ควรบำเพ็ญ

จตุปาริสุทฺธิสีลํ กาตพฺพํว สุนิมฺมลํ กรณากรเณเหว ภิกฺขุนา โมกฺขเวสินา

ปาริสุทธิศีล ๔ อันภิกษุผู้แสวงหาโมกขธรรม ควรกระทำให้บริสุทธิ์ โดยการไม่กระทำนั่นแล

พุทฺธานุสฺสติ เมตฺตา จ อสุภํ มรณสฺสติ อิจฺจิมา จตุรา รกฺขา กาตพฺพา จ วิปสฺสนา

พุทธานุสสติ เมตตา อสุภะ และมรณสติ อารักขธรรม ๔ เหล่านี้ อันผู้แสวงหาโมกขธรรมควรบำเพ็ญ และเจริญวิปัสสนาต่อไป

วิสุทฺธธมฺมสนฺตาโน อนุตฺตราย โพธิยา โยคโต จ ปโพธา จ พุทฺโธ พุทฺโธติ ณายเต

ท่านผู้มีพระสันดาน คือความสืบต่อแห่งธรรมอันบริสุทธิ์แล้ว ย่อมรู้กันได้ว่าพระพุทธเจ้า ดังนี้ เพราะทรงประกอบพระโพธิญาณอันยอดเยี่ยมและทรงปลุกเวไนยชนให้ตื่นด้วยพระโพธิญาณ

เกสโลมาทิฉวานํ อยเมว สมุสฺสโย กาโย สพฺโพปิ เชคุจฺโฉ วณฺณาทิโต ปฏิกฺกุโล

ความประชุมแห่งอาการทั้งหลาย มีผมและขนเป็นต้น นี้แหละชื่อว่ากาย เป็นอาการที่น่าเกลียดทั้งหมดเพราะเป็นของปฏิกูลโดยอาการมีสีเป็นต้น

ชีวิตินฺทฺริยุปจฺเฉท สงฺขาตมรณํ สิยา สพฺเพสํปีธ ปาณีนํ ตญฺหิ ธุวํ น ชีวิตํ

มรณะ คือความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ นั่นแหละพึงเป็นของแน่นอนของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เพราะว่าชีวิตเป็นของไม่แน่นอนคือ หมายไม่ได้ว่า จะเป็นอยู่ได้นานเท่าไร

อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ สงฺขารา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ธรรมทั้ง ห้านี้เกิดเพราะมีปัจจัย มีอวิชาเป็นต้น

อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจา จ ตาวกาลิกตาทิโต

ธรรมเหล่านี้ย่อมเกิด ย่อมดับ เพราะมีแล้วหามีไม่ อย่างนี้จึงเป็นของไม่เที่ยง และเพราะโดยอาการมีความเป็นไปชั่วขณะ เป็นต้น

ปุนปฺปุนํ ปีฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา จ เย อถ สนฺตตฺตตาทิโต

ธรรมเหล่าใดไม่เที่ยง ธรรมเหล่านั้นเป็นทุกข์แท้ เพราะถูกความเกิดและความดับบีบคั้นร่ำไป และเพราะโทษภัยมีความร้อน เป็นต้น

วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา เต อนตฺตาติ ญายเร

ธรรมคือเบญจขันธ์นั้นท่านกล่าวว่า เป็นอนัตตาเพราะไม่เป็นไปในอำนาจจะบังคับบัญชาว่าจงเป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ได้ ย่อมเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย

เอวํ สนฺเต จ เต ธมฺมา นิพฺพินฺทิตพฺพภาวโต ทฑฺฒเคหสมาเยว อลํ โมกฺขํ คเวสิตํ

ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ธรรมคือเบญจขันธ์เหล่านั้นก็เหมือนกับเรือนที่ไฟไหม้แล้ว โดยความเป็นสภาพที่ควรเบื่อหน่าย ควรพึงแสวงหาโมกขธรรม ปลดเปลื้องคนให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

ปยฺจกฺขนฺธมิทํ ทุกฺขํ ตณฺหา สมุทโย ภว ตสฺสา นิโรโธ นิพฺพานํ มคฺโค อฏฐงฺคิการิโย

เบญจขันธ์นี้เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับตัณหานั้นเป็นนิพพานมรรคมีองค์แปด เป็นธรรมอัประเสริฐ นำผู้ปฏิบัติให้เป็นอริยบุคคล

อายุ อุสฺมา จ วิญฺญาณํ ยทา กายํ ชหนฺติมํ อปวิทฺโธ ตทา เสติ เอตฺถ สาโร น วิชฺชติ

เมื่อใดอายุ ไออุ่น และวิญญาณละทิ้งกายนี้เสียแล้ว เมื่อนั้นกายนี้ย่อมนอนทอดสาระในกายนี้ ย่อมไม่มี

ปริชิณฺณมิทํ รูปํ โรคนิทฺธํ ปภงฺคุณํ ภิชฺชติ ปูติ สนฺเทโห มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ

ผู้มีอายุทั้งหลายรู้ว่า รูปนี้แก่คร่ำคร่าแล้ว เป็นรังแห่งโรค เปื่อยพัง ทรุดโทรม จะต้องแตกสลาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด

อปฺปมายุ มนุสฺสานํ หีเฬยฺย นํ สุโปริโส จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม

อายุของมนุษทั้งหลายน้อย บุรุษมีปัญญาดีพึงหมิ่นชีวิตอันน้อยนั้น พึงประพฤติตน เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ มรณะจะไม่มาถึง ไม่มีเลย

ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส น กิญฺจิ ปริวชฺเชติ สพฺพเมวาภิมทฺทติ

มรณะย่อมไม่เว้นใคร ไม่ว่ากษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และคนจัณฑาล ย่อมถูกย่ำยีทั้งสิ้น

น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ สตาณตา

เมื่อชนอันมรณะครอบงำแล้ว ไม่มีบุตร ธิดา พวกพ้อง จะต้านทานไว้ได้ ความป้องกันย่อมไม่มีในหมู่ญาติ

อโห อนิจฺจา สงฺขารา เต กาลิกา อสณฺฐิตา สกาลา กาลิกา สพฺเพ หุตฺวา น โหนฺติ เต

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอยู่ชั่วคราว ไม่ตั้งมั่นคง สังขารทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเป็นไปชั่วขณะ แปรไปตามกาลเวลา มีแล้ว ๆ ก็กลับไม่มี

อนิมิตฺตมนญฺญาตํ มุจฺจาหํ อิธ ชีวิตํ กสิรญฺจ ปริตฺตญฺจ ตญฺจ ทุกฺเขน สํยุตํ

ชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีนิมิต รู้ไม่ได้ว่า เมื่อไรจะแตกดับ ทั้งลำบาก ทั้งน้อยนิด และประกิตประกอบด้วยทุกข์

สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ชรํปิ ปตฺวา มรณํ เอวํ ธมฺมา ห ปาณิโน

สัตว์ทั้งหลายจะต้องตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด แม้อยู่ได้ถึงชรา ก็ต้องตาย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา

ผลานมิว ปกฺกานํ ปาโต ปตนโต ภยํ เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ

ผลไม้สุกแล้ว มีภัยที่จะต้องหล่นไปจากต้นแต่เช้าฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้ว ก็มีภัยแต่มรณะเป็นเที่ยงแท้ ฉันนั้นแล

ยถา หิ กุมฺภการสฺส กตํ มตฺติกภาชนํ ขุทฺทกณฺจ มหนฺตญฺจ ยํ ปกฺกํ ยญฺจ อามกํ สพฺพํ เภทปริยนฺตํ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ

ภาชนะดินที่นายช่างกระทำแล้ว จะเล็กใหญ่ สุก ดิบอย่างไรก็ตาม ล้วนมีความแตกเป็นที่สุดฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล.